ข้อมูลทั่วไปจังหวัด

ประวัติหน่วยงาน

:: ประวัติและความเป็นมาของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี ::

              สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้นที่ 1 ถนนแจ้งสนิท ตำบลแจระแม  อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาการมาจากกรมประชาสงเคราะห์  กระทรวงมหาดไทย ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตั้งแต่ปี  พ.ศ . 2535 จนกระทั่ง  2545  รัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อจะได้รับประโยชน์จากการค้าโลก และรักษาวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น ให้มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ อันจะส่งผลถึงการจัดบริการและสวัสดิการในประเทศที่ดี ปลอดภัยจากการคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรับระบบราชการไทย  เพื่อเอื้อให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง  และมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการ เปลี่ยนแปลงอนาคตในเวลาข้างหน้า (เอกสารทางวิชาการ ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ  ความมั่นคงของมนุษย์,กันยายน 2546)
           การปฏิรูประบบราชการเป็นกลไกสำคัญในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุผลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการออกพระราชบัญญัติวิธีการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะมาตร 3/1 ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐมีระบบการจัดการอันจะส่งผลให้เกิดการวัดผลสำเร็จตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จะเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด การบริหารแบบมุ่งผลสำเร็จในระดับ กระทรวงดังกล่าว ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของกระทรวงนั้นๆ  ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ในการปรับปรุงระบบราชการไทย    (เอกสารทางวิชาการตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,กันยายน 2546)
       ปัจจุบันสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในยุคแข่งขันเสรี และความสัมพันธ์ของรัฐกับสังคมเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น รูปแบบการบริหารงานแผ่นดินซึ่งรับผิดชอบประชาชนทั้งประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังจากมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2546 โดยมีการขยายตัวขององค์กรระดับท้องถิ่น องค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นใหม่และความสลับซับซ้อนขององค์กรภาคราชการ ประกอบด้วยปัจจัยภายนอกประเทศ ที่เป็นพันธกิจเนื่องมาจากการเป็นภาคีของประชาคมโลก ส่งผลให้เกิดระบบโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ความเชื่อมั่นในหลักประกันสวัสดิภาพของประชาชน (เอกสารทางวิชาการ ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,กันยายน 2546)
             สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี ได้พัฒนาการมาจากกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งมีภารกิจในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม หลังจากที่ได้เปลี่ยนแปลงมาขึ้นกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด,กลุ่มจังหวัด,กระทรวงฯ,ว่าระแห่งชาติ (Agenda Nation) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือราษฎรมีวีถีชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทิศทางการดำเนินงานพัฒนาสังคมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแปลงแนวทางดำเนินการช่วยเหลือราษฎรให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคการแข่งขันเสรีและความสัมพันธ์ของรัฐกับสังคม เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น รูปแบบการบริหารงานราชการแผ่นดินซึ่งรับผิดชอบประชาชนทั้งประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังจากมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยมีการขยายตัวระดับท้องถิ่น องค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่และความซับซ้อนขององค์กรภาคราชการ ประกอบกับปัจจัยแวดล้อมนอกประเทศที่เป็นพันธกิจเนื่องมาจากการเป็นภาคีของประชาคมโลก เพื่อยึดมั่นความโปร่งใสในการปฏิบัติงานความเชื่อมั่นในหลักประกันสวัสดิภาพการคุ้มครองสิทธิจากรัฐและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ จึงควรที่จะปรับกระบวนทัศน์แนวทางการพัฒนาแบบใหม่จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาที่มีความรุนแรงและรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าวได้โดยการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic decision) จำเป็นสำหรับการคาดการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆ และมีความสำคัญยิ่งต่อการตัดสินใจเชิงบริหารและการตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นการพัฒนาแนวใหม่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานีจึงกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด,กลุ่มจังหวัด,กระทรวงฯและวาระแห่งชาติและของประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาวิถีชีวิตของประชาชนต่อไป ซึ่งจากการที่รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบราชการจึงเป็นกลไกสำคัญของประเทศ ในการที่จะผลักดันให้แนวทางการบริหารตามนโยบายของรัฐเกิดผลสำเร็จและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวม การจัดกลไกของระบบราชการในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะปรับให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคมเพื่อให้สามารถกำหนดเป้าหมายและทิศทางการปฏิบัติงาน ของส่วนราชการที่มีความเกี่ยวข้องกันสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับเป้าหมายของงานที่จะต้องปฏิบัติ รวมทั้งให้มีการประสานงานการปฏิบัติงานและการใช้งบประมาณของทุกส่วนราชการ บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและลดความซ้ำซ้อน โดยการปรับอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการขึ้นใหม่และการปรบปรุงการบริหารงานของส่วนราชการที่มีความเกี่ยวข้องกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนราชการที่ซ้ำซ้อนกัน (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,2546:หน้า 3)
           สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานใหม่ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานตัวแทนส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจในด้านการพัฒนาเชิงรุกและเชิงรับ และมีความเป็นเอกภาพในการดูแลกลุ่มเป้าหมายพิเศษ โดยมีการรวมงบด้านการพัฒนาสังคม สวัสดิการ การพัฒนาศักยภาพองค์กร ชุมชน ส่งเสริมพัฒนาให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและชนกลุ่มน้อยทั้งในเขตเมืองและชนบท รวมถึงภารกิจในการสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตแก่ประชาชน โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุขบนรากฐานความเข้มแข็งของวิถีไทย (คู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,2546:4)  ในการดำเนินงานในปี 2547 ที่ผ่านมา การดำเนินงานสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็ได้ดำเนินการตามแผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบบูรณาการโดยได้เปลี่ยนแปลงแผนงบประมาณปี 2547 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ลงในกรอบยุทธศาสตร์ของจังหวัดอุบลราชธานี และการดำเนินงานที่ผ่านมา ปี 2547 ก็ได้ดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 ของจังหวัด

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial